0

【2022 รีวิว บัญชี ต้องรู้ 】 บัญชี สําหรับผู้ประกอบการใหม่

กำลังมองหาหนังสือ บัญชี สําหรับผู้ประกอบการ อยู่หรือเปล่าครับ 【บัญชี ต้องรู้】 ตอบโจทย์คุณได้

สวัสดีครับ ผมจี้ ในบทความนี้จะมารีวิว หนังสือ 【บัญชีต้องรู้】  โดย คุณอชิระ ประดับกุล ผู้ประกอบการสถานบันกวดวืชา the Hub หน้ามหาวิทยาลัยหอการค้า ซึ่งจะมาเล่าความรู้ ประสบการณ์ด้านบัญชีสำหรับการทำธุรกิจที่ควรรู้

บัญชี ต้องรู้

หนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับอะไร

ความรู้ด้านบัญชีเบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการที่ควรรู้ เพื่อทำธุรกิจ จากประสบการณ์ของผู้ประกอบการโดยตรง

ไม่ว่าจะเป็น การอ่าน-วิเคราะห์งบการเงิน ภาษีรูปแบบต่าง กฏหมายเกี่ยวกับบัญชี เป็นต้น รวมไว้เล่มเดียว

เนื้อหาโดยสังเขป

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

→ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน ที่จัดตั้งขึ้นในไทย

→ ตัวคุณคือ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ผู้ทำบัญชี

→  จ้างพนักงานประจำ / เจ้าของกิจการจัดทำ / จ้างสำนักงานบัญชี หรือ ผู้จัดทำอิสนะ

วิธีเลือกผู้ทำบัญชี

→ ดูที่อยู่ (มีการเปลี่ยนบ่อยไหม)

→ เปลื่ยนที่ทำงานบ่อยไหม (ถามเหตุผล ถ้าเปลี่ยนเพราะอยากทำงานที่ดีกว่าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)

→ ให้เขียนวิเคราะห์(ทำบททดสอบ) เพื่อบ่งบอกถึงทัศนคติในการทำงาน เป็นต้น

งบการเงิน

งบกำไรขาดทุน

→ รายได้ (จากการขายสินค้าหรือบริการ)

→ รายจ่าย(ต้นทุนในการผลิตสิน จ้างพนักงานมาบริการ)

→ กำไรขั้นต้น (รายได้ – รายจ่าย)

→ กำไรสุทธิ (กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด หักภาษี) เป็นต้น

งบแสดงฐานะการเงิน

→ สินทรัพย์ เช่น เงินสด รถยนตร์ หนี้สิน เช่น ค่าเช่า เป็นต้น

งบกระแสเงินสด

→ กิจกรรมดำเนินงาน / กิจกรรมลงทุน / กิจกรรมจัดหาเงิน

→ ไม่ยื่นงบการเงินมีค่าปรับ

ต้นทุน

→ ต้นทุนคงที่ (ไม่เปลี่ยนแปลงตากระดับของกิจกรรม)

→ ต้นทุนผันแปร (ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นเมื่อระดับกิจกรรมเพิ่มขึ้น ต้นทุนจะลดลงเมื่อระดับกิจกรรมลดลง)

→ ต้นทุนเสียโอกาส (ผลระโยชน์ที่ควรได้รับแต่ไม่ได้รับ เพราะเลือกทางเลือกอื่น)

→ ต้นทุนจม (เกิดจากการตัดสินในอดีต แต่ไม่มีผลต่อการตัดสินใจในปัจจุบัน)

→ ภาษีมูลค้าเพิ่ม(มุมของผู้ประกอบการ) ต้องจดก็ต่อเมื่อมีรายได้รวม1.8ล้านขึ้นไป

→ ภาษีขาย (เรียกเก็บ ภาษีมูลค้าเพิ่ม 7% จากลูกค้า เวลาขายสินค้าหรือบริการ)

→ ภาษีซื้อ (จ่ายภาษีมูลค้าเพิ่ม 7% เวลาซื้อสินค้าหรือบริการ )

ค่าใช้จ่ายทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ มักนำมาหักค่าใช้จ่ายเพื่อลดภาษีไม่ได้

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ในมุมของผู้ประกอบการ คงจะอยู่ในฐานะ ผู้หักภาษีมากกว่า)

→ หัก3% จากเงินเดือนลูกจ้าง

→ หัก3% เมื่อจ่ายค่าใช้จ่ายประเภท ค่าบริการ เช่น

→ หัก5% เมื่อจ่ายค่าใช้จ่าย ประเภท ค่าเช่า

→ หัก2% เมื่อจ่ายค่าใช้จ่าย ประเภท ค่าโฆษณา เป็นต้น

ใบรับเงิน/ใบเสร็จ/ใบกำกับภาษี/ใบเพิ่มหนี้/ใบลดหนี้

กฏหมายไม่ได้กำหนดไว้ตายตัวว่า ส่วนใดจะต้องอยู่ซ้าย กลาง หรือขวา แต่จะต้องมีอองค์ประกอบครบถ้วนตามที่กำหนด

เช่น ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบต้องมี 8 อย่าง

→ คำว่า ใบกำกับภาษี ที่เห็นชัด

→ ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ

→ ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ

→ หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)

→ ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ

→ จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มคำนวณจากมูลค่าสินค้าหรือบริการ

→ วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

→ ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

วินัยด้านบัญชี

→ โอนเงินผ่านแอป หรือเขียนเช็ค แทนการให้เงินลูกจ้างเพื่อไปทำแทน (ป้องกันการโกง)

→ แยกบัญชีธนาคาร ระหว่างธุรกิจ กับ เรื่องส่วนตัว อย่านำมาปนกัน

ความเห็นส่วนตัว

การที่ผู้ประกอบการมาเขียนหนังสือบัญชีด้วยตัวเอง ยิ่งทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้ เพราะเป็นมุมมองของผู้ประกอบการ

ผู้เขียน คัดเนื้อหาที่จำเป็นเท่านั้นมาเขียน ทำให้เรารู้พื้นฐานในการพูดคุยกับผู้ทำบัญชี

เช่น กฏหมายบัญชี มาตราที่ควรรู้

อ่านเล่มนี้แล้วสามารถเอาไปต่อยอดลงลึกรายละเอียดได้อีกมากเลยครับ

สุดท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับ บัญชีต้องรู้ บัญชี สําหรับผู้ประกอบการ ใครกำลังทำธุรกิจ หรือคิดว่าจะเริ่มทำ

เรื่องบัญชีเป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องรู้และไม่ควรปล่อยว่างไว้ เพราะจะมีผลต่อความน่าเชื่อถือ การดำเนินธุรกิจ และภาษีที่ต้องจ่ายเป็นต้น

ถ้าอยากรู้พื้นฐานไว้พูดคุยกับผู้ทำบัญชีที่จ้างมา ให้ราบลื่นคุณ ผมแนะนำหนังสือเล่มนี้ก่อนลงลึกเรื่องต่างๆครับ

เพราะการรู้พื้นฐานไว้ เป็นสิ่งสำคัญ ที่เราเอาไปต่อยอดเป็นคำถามเพื่อเรียนรู้จากผู้ทำบัญชีได้

นอกจากนี้ในหนังสือยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่ผมไม่ได้นำมาเขียนไว้ เชิญซื้อมาอ่านเพิ่มเติมได้เลยครับ

บทความแนะนำ อยากทำธุรกิจต้องอ่าน!【สรุป】 เป็นเจ้าของกิจการที่รุ่งทะยานเกินใคร

สนใจ → บัญชีต้องรู้ บัญชี สําหรับผู้ประกอบการ