0

【สรุป】Mentalist Daigo : เทคนิคการอ่านให้เอามาใช้งานได้เลย

  • พฤษภาคม 11, 2022

หนังสือ เทคนิคการอ่านให้เอามาใช้งานได้เลย ตอบโจทย์เหล่านี้

→ อ่านหนังสือจบแล้วแต่จำไม่ได้

→ ไม่มีแรงจูงใจในการอ่าน

ผู้เขียน mentalist Daigo เป็นนักเขียนแนวจิทยาอันดับ1ของญี่ปุ่นและนักอ่านตัวยง มีช่องยูทูปเรื่องจิตวิทยา การพัฒนาตัวเองที่คนติดตามกว่า 2ล้านคน

สรุป

→ ตั้งเป้าหมาย(อยากได้อะไรจากหนังสือเล่มนี้)

→ อ่านแบบสกิมมิ่งเพื่อให้เข้าใจภาพรวมก่อนอ่านจริงๆ (อ่านหน้าปก สายคาดหนังสือ อ่านสารบัญ อ่านบทใดบทหนึ่งที่สนใจ)

→ การมีความรู้พื้นฐานจะทำให้อ่านได้เร็วขึ้น

→ ไม่มีประโยชน์ที่จะอ่านเนื้อหาจบเร็วๆเพราะสิ่งสำคัญกว่าความเร็วคือ การเลือกเนื้อหาส่วนที่ควรอ่าน

→ เขียนแผนที่ความคิด เหตุผล(ทำไมอ่าน) ประโยชน์ที่จะได้รับ(อยากได้อะไร) และความคาดหวัง(อยากเห็นตัวเองแบบไหน)เมื่อรู้สึกว่าไม่มีสมาธิให้หยิบแผนที่ความคิดนี้ขึ้นมาเพื่อสร้างแรงจูงใจ

→ หากกระตุ้นความสงสัย ความสามารถในการจดจำก็จะเพิ่มมากขึ้น

→ ลองคาดคะเนเนื้อหาที่เขียนไว้ก่อนอ่าน ยิ่งผิดจากที่เราคิดไว้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้จดจำได้ไม่ลืมอ่านแบบเห็นภาพ

→ หากเปลี่ยนตัวหนังสือเป็นภาพได้ จะช่วยให้นึกเนื้อหาออกง่าย

→ เชื่อมโยงเนื่อหาเข้ากับความรู้ ประสบการณ์ และความเป็นไปของโลก ทำให้ตราตรึงในความทรงจำเป็น100เท่า

→ สรุปเนื้อหาด้วยภาษาตัวเองจะทำให้จำได้แม่นขึ้น

→ ถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่น ทำให้ความรู้ติดตัว

เหมาะกับใครคนที่

→ อยากเป็นคนอ่านหนังสือเก่ง

→ อยากเป็นอ่านได้มากกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้

→ อยากให้สิ่งที่ได้รู้เปลื่ยนแปลงตัวเองและคนอื่นได้จริง

→ มือใหม่ก็อ่านได้อ่านแล้วได้อะไร

→ รู้เทคนิคและโฟกัสให้ตรงจุด(เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ)

→ วิธีทำให้คุณอ่านหนังสือเก่ง

→ วิธีสร้างแรงจูงใจในการอ่านหนังสือ

→ วิธีอ่านแล้วจำได้นาน

ขอแบ่งเป็น3หัวข้อใหญ่เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆขึ้น

1 เตรียมตัวก่อนอ่าน (ก่อนอ่าน)

2รู้วิธีอ่านหนังสือ (ระหว่างอ่าน)

3นำความรู้ที่ได้ไปใช้ (หลังอ่านแล้ว)

1 เตรียมตัวก่อนอ่าน (ก่อนอ่าน)

ตั้งเป้าหมายว่าอยากจะรู้อะไรจากหนังสือ

หากตั้งเป้าหมายสิ่งที่อยากรู้ไว้ชัดเจน ถึงจะเป็นข้อมูลเพียงน้อยนิดก็ได้ความารู้มาก

อ่านแบบ สกิมมิ่ง

1.อ่านหนัาปกและสายคาดหนังสือ

2.อ่านสารบัญ

3.อ่านบทใดบทหนึ่งที่สนใจ

เลือกอ่านบทที่อยู่ตรงกลางอ่านส่วนเกริ่นและสรุป

เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของแต่ละบทการมีความรู้พื้นฐานจะช่วยให้อ่านเร็วขึ้นถ้าจะอ่านหนังสือที่คิดว่ายาก แนะนำให้อ่านหนังสือปูพื้นฐานของประเภทนั้นๆก่อนครับ

สร้างแผนที่ความคิด

→ เขียนเหตุผล(ทำไมอ่าน) ประโยชน์ที่จะได้รับ(อยากได้อะไร) และความคาดหวัง(อยากเห็นตัวเองแบบไหน)

สอดไว้ในหนังสือ (หน้าที่กำลังอ่านก็ได้)เมื่อรู้สึกว่าไม่มีสมาธิให้หยิบแผนที่ความคิดนี้ขึ้นมาเพื่อสร้างแรงจูงใจ

กระตุ้นความสงสัย

หากกระตุ้นความสงสัย ความสามารถในการจดจำก็จะเพิ่มมากขึ้นจินตนาการว่า การอ่านหนังสือคือบทสนทนาระหว่างเรากับผู้เขียนก่อนอ่านหนังสือ

ทดสอบตัวเอง

ให้ทดสอบตัวเองเพื่อหาสาเหตุว่าทำไมถึงอ่านได้ไม่จบเล่ม เมื่อรู้วิธีรับมือก็ช่วยกำจัดจุดอ่อนในการอ่านได้

เช่น เป็นเพราะเรารู้คศัพท์ไม่มากพอ ให้ลองท่องศัพท์ที่จำเป็นเพิ่มดีกว่าทดสอบตัวเองหากมีปัญหาในการอ่าน และรู้วิธีรับมือกัปัญหาตัวเองได้อย่างตรงจุดจะช่วยให้มีกำลังใจใจการอ่านมากขึ้น

2รู้วิธีอ่านหนังสือ (ระหว่างอ่าน)

ข้อยกมา3เคล็ดลับ สำหรับการอ่านที่ช่วยให้เข้าใจและจดจำไม่ลืมนะครับ

1.อ่านแบบคาดคะเนสิ่งสำคัญ

คือใช้ประสบการณ์และความรู้ที่มีคาดคะเนว่ามีเรื่องแบบไหนเขียนอยู่ในหนังสือที่กำลังอ่านเช่น หนังสือ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด x MBA x แพทย์ วิธีการเรียนขั้นเทพของคนที่ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

ชื่อหนังสือสื่อสารว่าผู้เขียนได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาด และเป็นหมอไปพร้อมๆกับเรียน MBA ควบคู่กันไปเป็นหนังสือที่แนะนำวิธีการเรียนที่ผู้เขียนทำแล้วประสบความสำเร็จทีนี่ลองคาดคะเนจากประสบการณ์และความรู้ว่าเนื้อหาแบบไหนเขียนอยู่ในเล่ม เช่น

→ เมื่อคุณยุ่งอยู่กับการทำวิจัย คุณจะไม่มีเวลาในการเรียน MBA

→ ผู้เขียนคงเล่าถึงปัญหาเรื่องการจัดการเวลาอันสั้น

จากนั้นตั้งเป้าหมายก่อนอ่านว่า บทไหนที่เป็นประโยชน์กับตัวเองในตอนนี้มากที่สุด และข้อมูลที่อยากรู้ที่สุดเขียนไว้ตรงไหน ยิ่งเนื้อหาของหนังสือต่างไปจากที่คิดไว้ตอนแรกมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้จำแม่นขึ้นเท่านั้น

2.อ่านแบบเห็นภาพ

ทำให้ความรู้เป็นรูปร่างเพื่อให้นึกออกได้ทันทีหัวใจสำคัญคือ เลือกส่วนที่คิดว่ามีประโยชน์แล้วรวยรวมเนื้อหาแต่ละส่วนมาทำให้เห็นเป็นภาพ เช่น

→ ก่อนอ่านหนังสือฉันมีคำถาม A ส่วนคำตอบที่เขียนไว้ คือ B

→ สิ่งที่ผู้เขียนยกขึ้นมาอ้างอิง คือ การทดลอง C และข้อมูล D

→ เมื่อต้องอธิบายให้คนอื่นฟังก็จะบอกว่า คำตอบของ A คือ B เพราะการทดลอง C และข้อมูล D

ดังนั้น ให้แยกเฉพาะ คำหลัก ออกมา ดังนั้นเราจะเห็นความสำคัญ ระหว่างคำหลัก ซึ่งประกอบกันเป็นภาพให้เราจำได้ง่ายๆนั้นเองครับ

3.อ่านแบบเชื่อมโยง

คือการอ่านหนังสือไปพร้อมๆกับการนำความรู้ของตัวเอง ประสบการณ์ และเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในโลกมาผูกโยงเข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น

Text-to-text เชื่อมโยงหนังสือเข้ากับหนังสือ

→ ลองนึกถึงหนังสือที่เคยอ่านกับหนังสือที่กำลังอ่าน ว่ามีอะไรเชื่อมโยงกันไหม

Text-to-Self เชื่อมโยงหนังสือเข้ากับตัวเอง

→ ลองนึกถึงหนังสือที่กำลังอ่านกับประสบการณ์ของตัวเอง ว่ามีอะไรเชื่อมโยงกันไหม

Text-to-World เชื่อมโยงตัวเองเข้ากับโลก

→ ลองนึกถึงเรื่องราวที่ได้ยินจาก ทีวี อินเตอร์เน็ต กับหนังสือที่กำลังอ่าน ว่ามีอะไรเชื่อมโยงกันไหม

การทำเช่นนี้ระหว่างอ่าน จะทำให้เนื้อหาตรงตรึงอยู่ในความทรงจำของเราเป็นร้อยเท่า

→ เนื้อหาจะเข้าไปเสริมกับสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วนั้นเองครับ

3นำความรู้ที่ได้ไปใช้ (หลังจากอ่าน)

ถ่ายทอดความรู้โดยใช้ 3เทคนิคนี้

1.เล่าโดยใช้ศัพท์เทคนิค

หากเราเข้าใจศัพท์เทคนิคที่เขียนไว้ในหนังสือแล้วปรับใช้ให้เข้ากับคนฟังโดยเปลี่ยนให้เป็นคำพูดที่เข้าใจง่าย ก็จะทำให้ใช้ความรู้จากหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

ชาเดินฟรอยเดอ เป็นคำภาษาเยอรมัน แปลว่า ความทุกข์ของคนอื่นหอมปานน้ำผึ้ง ซึ่งพูดให้เข้าใจง่ายๆคือ การมีความสุขบนความทุกข์ของผู้อื่น

เพิ่มแหล่งอ้างอิงเข้าไปด้วย เช่น จากข้อมูลของศาตรจารย์ ○○ของมหาวิทยาลัย○○ยิ่งอธิบายให้คนอื่นฟังได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจำได้แม่นขึ้น

2.เพิ่มทักษะการอธิบายด้วย spice  

Simplify

ทำให้เรียบง่ายสรุปสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อสารไปยังอีกฝ่ายด้วยข้อความที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เช่น ข้อความหาเสียงของ โอบาม่า yes we can

Perceived Self-interest

ความรู้สึกว่าตัวเองได้ประโยชน์คือการใช้เทคนิคการพูดที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเป็นประโยชน์กับตัวเองเล่าว่า สิ่งนั้นมีประโยชน์กับเขาอย่างไร เช่น ช่วงนี้เธอหาข้อมูลที่ใช้ในการทำงานอยู่ใช่ไหม ฉันเจอหนังสือที่เหมาะกับเธอพอดีเลย เป็นหนังสือที่แนะนำ 100นวัฒกรรมที่เปลื่ยนเศรษฐกิจโลก

Incongruity

ความประหลาดใจคือ เทคนิคโน้มน้าวใจในระหว่างที่ฝ่ายตรงข้ามให้ความสนใจกับข้อเท็จจริงที่เหนือความคาดหมาย เช่น รู้ไหมว่าทำไมผมต้อง○○ เพราะมีงานวิจัยบอกว่า○○ ดังนั้น○○ไงล่ะ

Confidence

ความมั่นใจการเพิ่มความมั่นใจเกี่ยวพันกันอย่างมากกับ หลุมพรางความคิด(halo effect) ซึ่งเป็นจิตวิทยาการตัดสินภาพจำของผู้อื่นจากลักษณะเด่น เช่น คนที่พูดภาษาอังกฤษได้คล้องแคล่ว จะถูกมองว่าเป็นคนทำงานเก่งถ้าเรามีความมั่นใจเวลาพูด ก็มีแนวโน้มว่าคนอื่นจะมองว่า เราเป็นคนที่มีความน่าเชื่อถือ น่าไว้ใจ ไงล่ะครับ

Empathy  ความรู้สึกร่วม คือ การโน้มน้าวใจฝ่ายตรงข้ามด้วยการมีความรู้สึกร่วม หากผู้ฟังมีความรู้สึกร่วมในเรื่องที่เราพูด ก็จะทำให้สื่อสารได้อย่างราบรื่น คนเราจะให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล

3.อ่านหนังสือคลาสิก วิทยาศาสตร์

ในการพัฒนาความสามารถในการอธิบาย เราจำเป็ฯต้องรับข้อมูลความรู้และวิธีคิดเพื่อเพิ่มพูนให้ความรู้แน่น วิธีที่ผู้เขียนแนะนำคือ การอ่านหนังสือคลาสสิกซ้ำๆ หนังสือคลาสสิกเป็นที่ยอมรับ แม้ว่าเวลาจะผ่านมานานแล้วก็ตาม

ไอเดียนั้นๆยังใช้ได้อยู่จริงๆก็เพราะ สมองของมนุษย์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากตั้งแต่ยุคที่อยู๋ในทุ้งซาวานน้า ดังนั้น ไอเดียจากหนังสือคลาสสิกก็ยังตอบโจทย์ได้ครับ

ส่วนหนังสือวิทยาศาสตร์ ผู้เขียนแนะนำว่า ให้อ่านข้อมูลใหม่ๆ เพราะเรื่องของวิทยาศาสตร์นั้น ยิ่งข้อมูลให้ยิ่งดี

มาอ่านหนังสือคลาสสิกและหนังสือวิทยาศาสตร์ที่ล้ำสมัยแล้วถ่ายทอดความให้เป็นประโยชน์กัยตัวเองและผู้อื่นกันเถอะการสอน

→ เล่าต่อให้กับคนอื่น เป็นการสอนตัวเองไปในตัว ยิ่งสอน หรือ เล่าต่อมากเท่าไหร่เราก็ยิ่งจำได้ครับ

สุดท้าย

หนังสือ เทคนิคการอ่านให้เอามาใช้งานได้เลย เล่มนี้เปลี่ยนความคิดผมในการอ่านหนังสือ จากที่เชื่อว่า เราต้องอ่านเร็วเพื่อจะได้รู้เยอะๆ เป็นเน้นอ่านให้เข้าใจและนำไปใช้ได้จริง

หลังจากนี้ผมจะใช้เทคนิคในหนังสือนี้ไปใช้กับ หนังสือเล่มใหม่ๆครับ

หลายครั้งที่เราต้องหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือ การเรียนรู้วิธีอ่านหนังสือให้เก่ง มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้เราเรียนรู้ได้เร็ว ตรงจุด และนำไปใช้ได้จริง

แล้วเพื่อนๆล่ะ จะเอาเทคนิคอะไรไปใช้กับการอ่านหนังสือบ้างครับ

สนใจ → เทคนิคการอ่านให้เอามาใช้งานได้เลย