สวัสดีครับ ในบทความนี้จะมาสรุปไอเดียจากหนังสือ กลยุทธ์ล้มยักษ์ David and goliath โดย malcom gladwel ผู้เขียนหนังสือ “ศิลปะแห่งการอ่านคน Talking to Stanger”
หนังสือเล่มนี้จะนำเสนอ วิธีเอาชนะจุดแข็ง ของคน(สิ่ง)ที่เหนือกว่าด้วย จุดอ่อน ที่คุณมี!
สรุป
- บางสิ่งที่ดูเหมือนเป็นจุดอ่อน แต่กลับกลายเป็นจุดแข็ง
- ความยากลำบากอาจไม่ได้ส่งผลกระทบในแง่ลบเสมอไป
เหมาะกับคนที่
- ชอบเรื่องจิตวิทยา
- อยากศึกษาเรื่องจิตวิทยา
- หาจุดแข็งของตัวเอง
อ่านแล้วได้อะไร
- ใช้สิ่งที่ดูเหมือนเป็นจุดอ่อน เปลี่ยนให้เป็นจุดแข็งได้
David and goliath เดวิดและโกไลแอธ
David and goliath (เดวิดและโกไลแอธ) เป็นเรื่องราวของเด็กเลี้ยงแกะเดวิด ตัวผอมบางแต่สามารถปราบนักรบตัวใหญ่ยักษ์ อย่าง โกไลแอธ ได้ ด้วยการยิงหินใส่หน้าผากให้สลับ จากนั้นก็ทำการบั้นหัว
ดูผิวเผินแล้ว เด็กเลี้ยงแกะอย่าง เดวิด ทั้งตัวเล็ก เทียบไม่ได้กับ โกไลแอธ เลยที่ทั้งตัวใหญ่และมีพละกำลังมหาศาล
กล่าวคือ เดวิด เป็นเหมือนพลธนู ที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว ต่างจาก โกไลแอธ นักรบที่ทั้งเชื่องช้าเหมาะกับการสู้กับนักรบโดยตรงมากกว่า
ทำให้ เดวิด ได้รับใช้ชนะครั้งนี้
ข้อเสียของความได้เปรียบ
1. การเลี้ยงดูลูก
ไม่มีใครกล้าพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า การมีเงินมากจะทำให้คุณเป็นพ่อแม่ที่ดีขึ้นเสมอไป
นั่นเป็นเพราะเงินทำให้การเลี้ยงลูกง่ายขึ้นจนถึงจุดหนึ่ง หลังจากนั้นมันจะไม่ทำให้เกิดความแตกต่างอีก
ในกรณีของชายจากวงการฮอลลีวูดที่มีเงินมากเกินไป ปัญหาของเขาในฐานะพ่อก็คือ เขารวยจนถึงระดับที่เงินไม่มีความหมายอีกต่อไป แต่มันกลับเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงดูลูกให้เติบโตขึ้นมาเป็นเด็กที่รู้จักคุณค่าของเงินและมีเหตุผล
สรุปก็คือ หากเราเป็นคนยากจน การเลี้ยงดูลูกก็ยากลำบากเพราะไม่มีเงินเพียงพอ กลับกัน
หากมีเงินมากมายมหาศาล การเลี้ยงดูลูกให้รู้จักคุณค่าของเงินก็เป็นสิ่งที่ยากลำบากตามมา
ข้อเสียเปรียบของความได้เปรียบ
2.ชั้นเรียน
หากดูเผินการที่ครอบครัวร่ำรวยจะส่งลูกไปยังโรงเรียนที่ชั้นเรียนมีนักเรียนจำนวนไม่มาก จะเป็นผลดีต่อตัวเด็ก เพราะครูจะใส่ใจในตัวเด็กๆได้ดี เมื่อเทียบกับ ชั้นเรียนที่มีนักเรียนเป็นจำนวนมาก
ในหนังสือได้เสนอ3เส้นโค้งเอาไว้ดังนี้
1.บางสิ่งที่ยิ่งมากยิ่งดี
2.บางสิ่งที่ถึงจุดหนึ่งแล้วจะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
3.บางสิ่งที่มีน้อยไปก็ไม่ดี มากไปก็ไม่ดี
ห้องเรียนอยู่ในกลุ่มที่3 คือ ต่อให้ห้องเรียนมีจำนวนนักเรียนน้อยมาก ไม่ได้หมายความว่าผลการเรียนของเด็กจะมีประสิทธิภาพเสมอไป
นอกจากนี้ นักเรียนอาจไม่เจอเพื่อนร่วมห้องที่มีความเหมือน
และถ้าห้องเรียนมีนักเรียนจำนวนมากไปก็ไม่ดีเช่นกัน เพราะจะทำให้ครูดูแล ให้ความสนใจนักเรียนได้น้อยลง
ชั้นเรียนที่เล็กกว่าจะนำไปสู่ผลการเรียนที่ดีขึ้นก็ต่อเมื่อ ครูเปลี่ยนรูปแบบการสอนเมื่อมีภาระน้อยลง หลักฐานยังบ่งบอกว่าครูไม่ได้ทำเช่นนั้น พวกเขาแค่ทำงานน้อยลง
สิ่งที่ดูเหมือนเป็นข้อได้เปรียบกลับเสียเปรียบ
ทฤษฎีความยากลำบาก อันพึงประสงค์
1. ข้อคิดของคนอ่านหนังสือช้า
ความยากลำบากบางอย่างทำให้เราแย่ลง แต่ความยากลำบากบางอย่างทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น
ผู้ป่วยโรคดิสเล็กเซีย จะมีปัญหาเรื่องการอ่านหนังสือเป็นอย่างมาก ทำให้เมื่อถึงช่วงหนึ่งที่เพื่อนๆในห้องเรียนเริ่มอ่านหนังสือได้
เขาจะเริ่มรู้สึกแปลกแยก ถูกมองว่าเป็นไอ้โง่ นี่ยังไม่รวมถึงการใช้ชีวิตด้วยซ้ำ
ถึงกระนั้น เดวิดบอยส์ ก็เริ่มพัฒนาทักษะการฟังขึ้นมา (เนื่องจากอ่านหนังสือได้ลำบาก) เวลาเขาเข้าเรียน เขาจะตั้งใจฟังและจดจำสิ่งที่อาจารย์พูดได้เป็นอย่างดี วิชานั้นคือ วิชากฏหมาย!
เมื่อเขาเป็นทนายและได้ขึ้นให้ความ จากการที่เขาได้พัฒนาทักษะการฟัง รวมถึงการสังเกตุปฏิกริยาการพูดของอีกฝ่าย ทำให้เขาเรียนรู้การขึ้นให้ความและวิธีพูดเพื่อไม่ให้อีกฝ่ายจับทางได้ว่าเขากำลังปิดบังอะไรอยู่
เช่น ถ้าหากคุณรีบตอบคำถามทันที โดยไม่คิดไตร่ตรองเสียก่อน พอถึงคำถามที่คุณเลี่ยงที่จะตอบ การไม่ตอบไปทันที จะทำให้คุณมีพิลุธ
นี่คือ ความยากลำบาก อันพึงประสงค์ (ความยากลำบาก ที่กลายมาเป็นประโยชน์) ของ บอยส์
“สิ่งที่ดูเหมือนเป็นจุดอ่อน แต่กลับกลายเป็นจุดแข็ง”
2.คนเถื่อนผู้เอาชนะโรคลูคีเมีย
เจย์ ฟรายไรด์ เสียพ่อไปอย่างกะทันหันตอนที่เขายังเด็ก แม่ของเขาต้องทำงานวันละ18ชั่วโมงทุกวัน เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเช่าห้อง เมื่ออายุได้ 9 ขวบ เขาป่วยหนักเป็นต่อมทอนซิลอักเสบ
ในช่วงหลายปีที่ฟรายไรค์เติบโตขึ้นมา สายสัมพันธ์ที่เขามีต่อครอบครัวกับลงเอยด้วยความตายและการทอดทิ้ง วัยเด็กที่ทุกข์ระทมแบบนั้นจึงมีแต่จะฝากความเจ็บปวดและความโกรธเกรี้ยวเอาไว้
หลังจากที่เขาเข้าเรียนและได้มีโอกาสเป็นหมอ รักษาโรคลูคีเมีย กับเด็กๆเป็นจำนวนมาก เห็นทั้งความเจ็บปวดและความตายของเด็กๆ
เขาไม่เคยสิ้งหวัง นั่งเศร้า และยังคงช่วยเหลือเด็กๆ นอกจากนี้เขากับฟราย ยังได้พัฒนาวิธีรักษาโรคลูคีเมียในเด็กจนประสบผลสำเร็จ
ปัจจุบันมะเร็งชนิดนี้มีอัตราการรักษาสำเร็จสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เด็กรอดขีวิตเพราะความพยายามของ ฟรายไรค์ ฟราย และนักวิจัยที่เดินตามรอยเท้าพวกเขามีจำนวนหลายพันคนทีเดียว
“สิ่งที่ดูเหมือนเป็นจุดอ่อน แต่กลับกลายเป็นจุดแข็ง”
ความยากลำบากอาจไม่ได้ส่งผลกระทบในแง่ลบเสมอไป
ข้อจำกัดของอำนาจ
ฤดูร้อนของปี 1969 ซึ่งเป็นช่วงที่ชุมชน ชาวคาทอลิกและชุมชนชาวโปรเตสแตนต์ที่ขัดแย้งกันมาตลอดประวัติศาสตร์ของประเทศกำลังห้ำหั่นกันอย่างดุเดือด
กองทัพอังกฤษเข้าไปในไอร์แลนด์เหนือเจตนาดีเพื่อช่วยเหลือและทำหน้าเป็นผู้รักษาสันติภาพ ระหว่างประชาชนทั้งสองฝ่าย
มีการใช้กฏเคอร์ฟิว และการเข้าตรวจอาวุธตามที่อยู่อาศัยต่างๆ สิ่งที่ควรจะเป้นเรื่องกวนใจเพียงไม่กี่เดือนกลับกลายเป็นการนองเลือดและความวุ่นวายที่กินเวลานานถึง 30ปี
ความผิดพลาดของอังกฤษในไอร์แลนด์เหนือเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก พวกเขาพลาดที่เชื่อมั่นว่าตัวเองมีทรัพยากร อาวุธ กำลังทหารและประสบการณ์ที่เหนือชั้นกว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
นายพล ฟรีแลนด์เชื่อบทสรุปที่ว่า การควบคุมพฤติกรรมของผู้คนไม่ต้องอาศัยความเห็นอกเห็นใจหรือความเชื่อใดๆ
สุดท้ายพวกเขาก็คิดผิด
อำนาจที่ดูเหมือนจะเป็นข้อได้เปรียบนั้นกลับมีข้อจำกัด
กลยุทธ์ล้มยักษ์ David and Goliath
หากผู้มีอำนาจอยากให้คนอื่นๆ ประพฤติตัวดี พวกเขาก็ต้องประพฤติตัวดีเสียก่อน
แนวคิดนี้มีชื่อว่า หลักการแห่งอำนาจอันชอบธรรม (Principle of legitimacy) และอำนาจอันชอบธรรมก็ตั้งอยู่บนปัจจัย 3ประการ
ประการแรก ผู้คนที่ถูกขอให้ทำตามคำสั่ง ต้องรู้สึกว่าพวกเขามีสิทธิมีเสียงและมีคนรับฟัง
ประการที่สอง กฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นต้องเป็นสิ่งที่คาดเดาได้และสม่ำเสมอ (เช่นกฏเกณฑ์ในวันพรุ่งนี้ต้องใกล้เคียงกับกฎเกณฑ์ในวันนี้)
ประการที่สาม ผู้มีอำนาจต้องมีความยุติธรรมและไม่ปฏิบัติต่อคนกลุ่มหนึ่งแตกต่างจากคนอีกกลุ่ม
ผู้มีอำนาจต้องใส่ใจว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับตัวเอง
สรุปอีกครั้ง
- บางสิ่งที่ดูเหมือนเป็นจุดอ่อน แต่กลับกลายเป็นจุดแข็ง
- ความยากลำบากอาจไม่ได้ส่งผลกระทบในแง่ลบเสมอไป
สุดท้าย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับ กลยุทธ์ล้มยักษ์ David and goliath หวังว่าเพื่อนๆจะใช้ “สิ่งที่ดูเหมือนเป็นจุดอ่อน แต่กลับกลายเป็นจุดแข็ง” และมองออกว่า “สิ่งที่ดูเหมือนเป็นจุดแข็ง แต่กลับกลายเป็นจุดอ่อน” ออกนะครับ
สนใจ → กลยุทธ์ล้มยักษ์ David and goliath