0

6 กลยุทธ์การโน้มน้าวใจ จากหนังสือ INFLUENCE

  • มิถุนายน 29, 2022

อยากโน้มน้าวใจคน ทำอย่างไรดี วิธี กลยุทธ์การโน้มน้าวใจ อะไรบ้าง มีตัวอย่างไหม  หนังสือ กลยุทธ์โน้มน้าวและจูงใจคนมีคำตอบ

สวัสดีครับ ผม จี้ ในบทความนี้ จะมาเสนอ 6 กลยุทธ์โน้มน้าวและจูงใจคน จากหนังสือ The influence

เป็นหนังสือที่นำเสนอ หลักการ โน้มน้าวใจคน ทั้งจากงานวิจัยและประสบการณ์ของผู้เขียน ดร.โรเบิร์ต ชาลดินี นักจิทวิทยาผู้เชี่ยวชาญทางศาสตร์แห่งการโน้มน้าว จูงใจ และการเจรจาต่อรอง ซึ่งเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ

เหมาะกับคนที่

→ สนใจวิธีโน้มน้าวใจคน

→ จิตวิทยามนุษย์

อ่านแล้วได้อะไร

→ วิธีจูงใจคน

→ เข้าใจหลักการการโน้มน้าวใจ

กลยุทธ์การโน้มน้าวใจ

อาวุธของการโน้มน้าว

สิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ มีเทปอัตโนมัติ ที่พร้อมจะเล่นเมื่อมีสิ่งกระตุ้นมัน

ยกตัวอย่าง

แม่ไก่ง่วง จะเข้าไปดูแลลูกของมัน ต่อเมื่อได้ยินเสียง จิ๊บ จิ๊บ เท่านั้น หากลูกตัวไหนไม่สามารถร้อง จิ๊บ จิ๊บ ได้ มันก็จะไม่ได้รับการดูแล

เสียง จิ๊บ จิ๊บ เปรียบเสมือน เทปอัตโนมัติ ที่เริ่มเล่นเมื่อมีสิ่งกระตุ้น  ซึ่งจะทำให้เราแสดงพฤติกรรมออกมา 

ในมนุษย์ เช่น

→ เมื่อเห็นของแพง จะคิดว่า ดี

→ ถ้าซื้อของแพงก่อน ของที่ถูกลงมา จะดูถูกยิ่งขึ้น

 

นี้คือตัวอย่างของสิ่งที่เรียกว่า เทปอัตโนมัติ  ซึ่งในหนังสือจะมี 6 กลยุทธ์การโน้มน้าวใจ

ที่ทำให้ เทปอัตโนมัติของมนุษย์เราเล่น

1. ใช้การตอบแทน

เมื่อมีใครทำอะไร หรือ ให้อะไรกับเรา ทำให้เกิดความรู้สึกโดยธรรมชาติว่าเป็นภาระหน้าที่ที่ต้องตอบแทนในอนาคต

กฏบอกไว้ว่าจะมีบทลงโทษทางสังคม และการดูถูกอย่างไรกับคนที่ฝ่าฝืน โดยเฉพาะคนที่ชอบรับแต่ไม่พยายให้กลับคืน

ฉนั้นเราจึงพยายามหลีกเลี่ยงบทลงโทษเหล่านี้ โดยการตอบแทนกลับไป

ในอดีต บรรพบุรุษของเราเรียนรู้ที่จะแบ่งปันอาหารและความชำนาญของพวกเขา โดยใช้ระบบหนี้บุญคุณ(การให้ และ การตอบแทน)

ตัวอย่าง

→ การที่คนหนึ่ง ให้ดอกไม้  กับคนที่เดินผ่านโดยไม่รับคืน (การให้)เพื่อเรียกเงินบริจาค(การตอบแทน)

→ การขอยืมเงิน 1000บาท แต่จริงๆต้องการยืม100บาท เมื่อไม่ได้ 1000บาท ก็ยอมอ่อนข้อให้(การให้) อีกฝ่ายจึงตอบแทบโดยการอ่อนข้อให้ยืม(ให้กลับ) 100บาท

→ การที่โรงเรียนสอนภาษามีการเปิดให้ทดลองเรียนฟรี(การให้)

→ การให้สินค้าไปทดลองใช้ที่บ้าน

→ การซื้อของมาฝากเพื่อนบ้าน

2. ใช้ความรับผิดชอบและความสม่ำเสมอ

การยึดมั่น รับผิดชอบและความสม่ำเสมอ แสดงถึง ความมั่นคง ซื้อสัตย์ มีเหตุผล

และทำให้เราไม่ต้องคิดมากเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆอีกต่อไป

การไม่ยึดมั่น รับผิดชอบและสม่ำเสมอ ถูกมองเป็นอุปนิสัยที่ไม่น่าปรารถนา โลเล สับสน สองหน้า

เมื่อเราตัดสินใจอะไรไปแล้ว เรามักจะโน้มน้าวใจตัวเองให้ทำมันต่อไป

ตัวอย่าง

→ การที่นักพนันตัดสินใจลงพนันไปแล้ว มักมีแนวโน้มจะจูงใจตัวเองให้เชื่อมั่นกับการตัดสินใจนั้น(ยึดมั่น)

→ การที่พ่อแม่ ให้คำมั่นว่าจะซื้อของเล่นให้ลูก

→ การถามว่าอีกฝ่ายจะไปเลือกตั้งไหม (ยืนยันคำมั่น)

→ การให้คำมั่นสัญญากับใครบางคน

3.ใช้ข้อพิสูจน์ทางสังคม

วิธีหนึ่งที่เราใช้เพื่อตัดสินว่าสิ่งใดถูก ก็คือ การค้นหาสิ่งที่ผู้อื่นคิดว่า ถูก

เรามักจะสังเกตุสิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำ และทำตาม เพราะคิดว่าอะไรที่คนส่วนใหญ่ทำเป็นสิ่งที่ถูก

เราจะทำผิดพลาดน้องลง ด้วยการทำตามสังคม มากกว่าขัดแย้งกับมัน

เมื่อคนส่วนใหญ่นิยมทำอะไรบางอย่าง มันจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

หลักการนี้ทำงานได้อย่างมีพลังที่สุด เมื่อเราสังเกตุพฤติกรรมของผู้คนที่เหมือนเรา

ตัวอย่าง

→ เสียงหัวเราะในรายการตลก (ข้อพิสูจน์ทางสังคม)

→ การโฆษณา/พูด ให้เห็นว่าคนทั่วไปเขาก็ใช้กัน

→ การขาย โดยแสดงภาพคนที่ใช้ให้ลูกค้าดู(ข้อพิสูจน์ทางสังคม)

→ ป้าย ขายดีที่สุด(คนส่วนใหญ่เขาก็ซื้อกัน)

4.ใช้ความชอบ

เราชอบที่ตอบตกลงกับผู้ขอที่เรารู้จักและชอบพอที่สุด

คนหน้าตาดี มีข้อได้เปรียบในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

งานวิจัยครั้งหนึ่งพบว่า หน้าตา ท่าทางที่ดีของผู้สมัคร มีผลเหนือกว่าคุณสมบัติของผู้สมัครในการได้รับการตัดสินใจจ้างงาน

เราชอบผู้คนที่เหมือนกับเรา ไม่ว่าจะเป็น บุลคลิกลักษณะ ภูมิหลัง หรือ วิธีการใช้ชีวิต

ดังนั้น โน้มน้าวด้วยการ

→ แต่งตัว (ให้น่าประทับใจ)

→ หาความเหมือน

→ ชื่นชมอีกฝ่าย(จากใจ)

5 ใช้อำนาจ

การทำตามคำสั่งผู้มีอำนาจ มีประโยชน์ในทางปฏิบัติที่แท้จริงสำหรับเรา

เช่น พ่อแม่ คุณครู ก็รู้มากกว่า ดังนั้นการทำตามคำแนะนำจึงมีประโยชน์

ส่วนหนึ่งเพราะ สติปัญญาที่มากกว่า อีกส่วนหนึ่ง เพราะ พวกเขาควบคุมรางวัลและบทลงโทษ

เราถูกโน้มน้าวโดย

→ คำนำหน้าชื่อ (เป็นสัญลักษณ์ของผู้มีอำนาจ เช่น ศาสตรจารย์)

→ เสื้อผ้า เช่น เสื้อตำรวจ เสื้อทหาร เป็นต้น

6.ใช้ความหายาก กฏจำนวนน้อย

อะไรที่มีจำนวนน้อย มักจะมีค่ามากขึ้น และทำให้มนุษย์อยากได้มันมา เช่น 

→ สินค้าเหลือชิ้นสุดท้าย 

→ โบสถ์ที่นานๆครั้งจะเปิดให้เข้าไปข้างใน

→ ธนบัตรที่พิมพ์ผิด

ความคิดที่อาจต้องสูญเสียก็มีบทบาทใหญ่ ในการตัดสินใจของมนุษย์

คนเราจะถูกจูงใจ โดยความคิดของการสูญเสียบางสิ่ง มากกว่า ความคิดของการได้บางสิ่งที่มูลค่า เท่ากันมา

เช่น ถ้าพนันระหว่าง ทายถูกจะได้1000 บาท  ทายผิดจะเสีย1000 บาท คนเรามักจะไม่พนันเพราะกลัวเสีย 1000บาท มากกว่า การได้1000บาท

การโน้มน้าว

→ วันนี้เท่านั้น (กลัวพลาดโอกาส)

→ โทรด่วนตอนนี้ 30ท่านเท่านั้น

→ มีจำนวนจำกัด

สุดท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับ 6 กลยุทธ์การโน้มน้าวใจ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในงาน และชีวิตของทุกท่านครับ

ยังมีเนื้อหาอีกมากที่ผมไม่นำมาพูดถึง ซึ่งอยู่ในหนังสือ กลยุทธ์การโน้มน้าวและจูงใจคน influence

บทความแนะนำ

ศิลปะแห่งการอ่านคน-talking-to-strangers-สรุป

สนใจ → กลยุทธ์การโน้มน้าวและจูงใจคน influence