0

[สรุป] talking to strangers ศิลปะแห่งการอ่านคน

  • พฤษภาคม 3, 2022

เวลาเราเจอคนที่เราไม่รู้จัก  เราอ่านพวกเขาออกแค่ไหนกัน? และควรจะทำตัวอย่างไรกับพวกเขาดี?จากมุมมองของผู้เขียนแล้ว  มนุษย์นั้นไม่ได้อ่านง่ายๆเลย

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาสรุปหนังสือ talking to strangers ศิลปะแห่งการอ่านคน

เป็นหนังสือ เล่าปัญหาด้านมุมมองต่อคนที่ไม่รู้จักของมนุษย์

โดยสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

→  ในบางกรณีการดูหน้าก็อาจจะไม่รู้ใจ

→ เราจับโกหกไม่เก่งในสถานการณ์ที่บุคคลนั้นแสดงสีหน้าท่าทางไม่ตรงกับความรู้สึกในใจ

→ สังคมเราอยู่ง่ายขึ้นเพราะเราพร้อมเชื่อใจคนอื่น ถึงแม้ต้องแลกกับการโดนหลอกบ้าง

→ การจับคู่เชื่อโยง(เข้าใจพฤติกรรมกับสถานที่ของคนๆหนึ่ง) ผลักดันให้เรามองเห็นความซับซ้อนคลุมเคือของคนที่เราไม่รู้จักได้รอบด้าน

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับ

→ ผู้ที่ต้องการศึกษาจิตวิทยาของมนุษย์

→ เรียนรู้เกี่ยวกับคนที่เราไม่รู้จัก

→ อ่านเพื่อความบันเทิง

อ่านแล้ว

→ เพื่อนๆจะเข้าใจคนที่เราไม่รู้จักมากขึ้น→ ถ่อมตัวพร้อมเรียนรู้จากคนที่เราไม่รู้จักเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจข้อแบ่งเป็น3 ส่วน แต่ละส่วนคือ ปัญหาที่จะเสริมประเด็นหลักที่หนังสือนี้ต้องการจะบอก คือ มนุษย์ไม่ได้อ่านง่าย3ปัญหา

  1. คิดว่าเห็นทะลุปรุโปร่ง (ดูหน้าก็รู้ใจ)
  2. พร้อมเชื่อใจคนอื่น
  3. ไม่เข้าใจการจับคู่่เชื่อมโยง

1. คิดว่าเห็นทะลุปรุโปร่ง/อ่านคนอื่นออก (ดูหน้าไม่รู้ใจ)

แซนดร้า แบลนด์

แซนดร้า แบลนด์ ถูกเรียกให้จอดรถ ด้วยข้อหาไม่เปิดไฟเลี้ยว ตำรวจชื่อ เอ็นซิเนีย เรียกเธอคุยจนเห็นท่าทีของแบลนด์ว่า ไม่พอใจ และหยิบบุหรี่ขึ้นมาสูบ ทางฝั่งตำรวจจึงเริ่มสั่งให้ แบลนด์ดับบุหรี่ลง ซึ่งเธอไม่ยอมเพราะอยู่ในรถของเธอ

จากเรื่องไฟเลี้ยวเลยเถิดไปเป็นเรื่องบุหรี่ จนแบลนด์ถูกจับกุม 3วันให้หลังเธอฆ่าตัวตาย จากที่ประวัติของแบลนด์แล้ว

เธอมีอาการทางจิตและเคยคิดฆ่าตัวตายมาก่อน จากเหตุการณ์นี้ผู้เขียนสรุปไว้ว่า ฝ่ายตำรวจคิดว่า ตนเองอ่านคนที่ไม่รู้จักออก ทะลุปรุโปร่งเหมือน ดูหน้าก็รู้ใจ

ทำให้การตีควาซึ่งเป็นไปตามความคาดหวังนั้นผิดพลาด ดูหน้าใช่ว่าจะรู้ใจเสมอไป

อมันดา น็อกซ์

1 พฤษจิการยน 2007 เกิดเหตุฆาตกรรม เมเรดิช เคอร์เซแอร์ ที่อิตาลี บุคคลที่ตำรวจมุ่งความสงสัยกลับกลายเป็นเพื่อนร่วห้องพักของ เคอร์เซอร์ ชื่อ อมันดา น็อกซ์ หลังจากที่เธอกลับบ้านตอนเช้าพบเลือดในห้องพักและโทรแจ้งตำรวจ

 

เจ้าหน้าที่ใส่ชื่อน็อกซ์กับซอลเลซิโต แฟนหนุ่ม ไว้ในชื่อผู้ต้องสงสัยขณะรอให้ตำรวจสอบปากคำเธอคิดจะจืดเส้นยืดสายและทำท่าฉีกขากว้าง

ริฟตา ฟิคาร์ราที่ออกมาจากลิฟท์ถามว่า คุณทำอะไรอยู่น่ะ!พนักงานสอบสวน(เอ็ดการ์โด จิออบ) สารภาพว่าเขาสงสัยย็อกซ์ เพราะทำท่าทางแปลกอย่างการ บิดสะโพกแล้วร้องว่า แถ่น-แท้น เราบอกได้ว่าใครทำผิด

จิออบ สรุป โดบจับสังเกตจากปฏิกิริยาทางกายและใจของผู้ต้องสงสัย ระหว่างสอบปากคำ โดยเธอดูไม่เสียใจ แต่กลับทำท่าทางโกรธ หลังจากนั้น เธอถูกจับเข้าคุกและได้ถูกปล่อยตัวเพราะไม่มีความผิดและเป็นอิสระ

ภายหลัง4ปีอนันดา น็อกซ์ นี่เองสื่อสารได้ไม่ตรงกับใจใช่ว่าเราจะจับโกหกไม่เก่ง แต่จริงๆคือเราจับโกหกไม่เก่งในสถานการณ์ที่บุคคลนั้นแสดงสีหน้าท่าทางไม่ตรงกับความรู้สึกในใจต่างหากในบางกรณีการดูหน้าก็อาจจะไม่รู้ใจ

2.พร้อมเชื่อใจคนอื่น

สังคมเราอยู่ง่ายขึ้นเพราะเราพร้อมเชื่อใจคนอื่น ถึงแม้ต้องแลกกับการโดนหลอกบ้างเราจะหยุดเชื่อใจคนอื่นก็ต้อเมื่อเราพิสูจน์ได้

เช่น มีหลักฐานแน่นอนเรายอมเลือกเชื่อความเท็จแม้การตัดสินใจอย่างนั้นต้องแบกความเสี่ยงอย่างแรง

ก็เพราะว่าเราไม่มีทางเลือกมิฉะนั้นสังคมย่อมอยู่กันไม่ได้เรื่องที่3 เด็กชายในห้องอาบน้ำวันหนึ่ง

แซนด์สกี

แม็คเควียรีเข้าห้องน้ำมาเห็น แซนด์สกี (เพิ่งเกษียณจากตำแหน่งโค้ชทีมรับของทีมอเมริกันฟุตบอลของมหาวิทยาลัยและเป็นที่รักของบรรดาผู้คลั่งไคล้อเมริกันฟุตบอล)อาบน้ำอยู่กับเด็กชายด้วยกัน

แม็คเควียรีให้แซนดัสกีอยู่ข้างหลังเด็กผู้ชาย เรื่องนี้ถูกแจ้งไปถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัย เกรแฮม สแปเนียร์ ในไม่ช้า แซนดัสกีถูกจับกุมแซนดัสกีถูกตัดสินว่าอนาจารเด็กมีความผิด45กระทง

แม็คเควียรีเห็นแซนดัสกีในห้องอาบน้ำคราวนั้นตั้งแต่ปี2007 แต่กว่าจะเริ่มมีการสอบสวนพฤติกรรมของแซนดัสกีก็อีก10ปีต่อมาและกว่าจะจับกุมเขาก็ล่วงเข้าเดือนพฤศจิกายน2011

แล้วทำไมต้องใช้เวลานานขนาดนั้นอันที่จริงถึงแม้จะมีเรื่องของแซนดัสกีเข้าหู สแปเนียร์บ้าง แต่เขายอมเชื่อคำอธิบายแบบที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุดคือ แซนดัสกีก็เป็นคนอย่างที่เขาแสดงให้เห็น (เป็นที่รัก) สแปเนียร์ พร้อมเชื่อใจ แซนดัสกี

จนหลักฐานปรากฏจนแน่นหนาว่า แซนดัสกีเป็นคนยังไง

→ ส่วนตัวผมแล้วคิดว่า ในบางกรณีที่มีเหตุสงสัยจริงๆ ควรจะตรวจสอบให้ดี

ก่อนที่จะเลือกเชื่อในตัวบุคคลความผิดพลาดชุดแรกที่เราทำกับคนไม่รู้จักคือ การพร้อมจะยอมเชื่อและภาพลวงตาเรื่องการเห็นทะลุปรุโปร่ง

ยังมีปัจจัยอีกอย่างที่ผลักดันให้ปัญหาที่เรามีกับคนที่เราไม่รู้จักรุนแรงจนถึงขั้นวิกฤต นั้นก็คือ เราไม่เข้าใจความสำคัญของบริบทในการกระทำของคนที่เราไม่รู้จัก

3.ไม่เข้าใจการจับคู่เชื่อมโยงจับคู่เชื่อมโยง (พฤติกรรมกับสถานที่)

พฤติกรรมกับสถานที่

พฤติกรรมกับสถานที่ของหญิงค้าประเวณีไวส์เบิร์ดทดลงมอบหมายให้เพิ่มตำรวจสายตรวจคอยตรวจพื้นที่ไม่กี่ช่วงตึกบริเวณที่มีหญิงค้าประเวณีอยู่

ไม่น่าแปลกใจที่การค้าประเวณีในบริเวณนั้นลดลงถึงสองในสามเกิดคำถามว่า เมื่อตำรวจคอยตรวจจราพวกขายบริการทางเพศจะขยับห่างไปสักหนึ่งหรือสองช่วงถนนหรือเปล่าจึงได้ไปสอบถามผู้ขายบริการทางเพศ

ปรากฎว่า ส่วนใหญ่จะหันไปทำอย่างอื่นแทน เช่น เลิกงานนี้ไปเลย หรือว่าเปลื่ยนพฤติกรรมมากกว่าจะย้ายทำเลทำมาหากินพวกเธอไม่เพียงเชื่อมโยงจับคู่กับสถานที่

แต่ถึงขั้นเกาะเกี่ยวกับตัวสถานที่แน่นเลยด้วยซ้ำการจับคู่เชื่อมโยงผลักดันให้เรามองเห็นความซับซ้อนคลุมเคือของคนที่เราไม่รู้จักได้รอบด้าน

สรุป


→  ในบางกรณีการดูหน้าก็อาจจะไม่รู้ใจ

→ เราจับโกหกไม่เก่งในสถานการณ์ที่บุคคลนั้นแสดงสีหน้าท่าทางไม่ตรงกับความรู้สึกในใจ

→ สังคมเราอยู่ง่ายขึ้นเพราะเราพร้อมเชื่อใจคนอื่น ถึงแม้ต้องแลกกับการโดนหลอกบ้าง

→ การจับคู่เชื่อโยง(เข้าใจพฤติกรรมกับสถานที่ของคนๆหนึ่ง) ผลักดันให้เรามองเห็นความซับซ้อนคลุมเคือของคนที่เราไม่รู้จักได้รอบด้าน

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับหนังสือ ศิลปะการอ่านคน ต้องบอกว่าถ้าหากใครต้องการศึกษาเรื่องจิตวิทยามนุษย์ที่มีตัวอย่างรายละเอียดอันแน่น หรือ อ่านเพื่อความบันเทิง

ขอแนะนำหนังสือเล่มนี้ครับ ด้วยการที่ผู้เขียนใช้เรื่องเล่าซะส่วนใหญ่ทำให้เวลาอ่านเราจะเหตุภาพมากขึ้นครับผมคิดว่าตัวเอง ถ่อมตัวและพร้อมเปิดใจเรียนรู้จากคนที่เราไม่รู้จักมากขึ้นหลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้ แล้วเพื่อนล่ะครับ?

ขอบคุณที่อ่าน สรุป talking to strangers ศิลปะแห่งการอ่านคน จนจบครับ

สนใจ  →  ศิลปะแห่งการอ่านคนTalking to Strangers