คนเรามีอคติอะไรบ้าง? จะรับมือกับอคติเหล่านี้ได้อย่างไร? the art of thinking clearly รีวิว นี้มีคำตอบครับ
สวัสดีครับ ผมจี้ ในบทความนี้จะขอนำทุกท่านไปเรียนรู้ 7 อคติ จากหนังสือ the art of thinking clearly หรือในชื่อภาษาไทยก็คือ 52วิธีคิดให้ได้อย่างเฉียบคม
โดย รอล์ฟ โดเบลลี ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท getAbstract และเป็นนักเขียนระดับโลก
เหมาะกับคนที่
→ อยากเรียนรู้เกี่ยวกับอคติ
→ อยากเรียนรู้เรื่องจิตวิทยามนุษย์
อ่านแล้วได้อะไร
→ เข้าใจอคติของมนุษย์และวิธีแก้ไข
เนื้อหาโดยสังเขป
ในหนังสือ นำเสนอ อคติ ภาพลวงตา ปรากฏการณ์ต่างๆในความคิดของมนุษย์และวิธีแก้ไขเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีขึ้นครับ
① ผลกระทบจากการเปรียบเทียบ (Contrast Effect)
เราตัดสินบางสิ่งว่าสวย มีขนาดใหญ่ หรือมีราคาแพง เพราะนำมันไปเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นที่น่าเกลียด มีขนาดเล็ก หรือมีราคาถูก
ถ้าไม่มีตัวเปรียบเทียบ คนเราก็จะตัดสินใจได้ยาก
เช่น
→ สินค้าที่ลดราคาจาก 100ยูโรเหลือแค่ 70 ยูโรคุ้มค่ามากกว่าสินค้าที่มีราคาปกติอยู่ที่ 70 ยูโร
ถ้ากำลังมองหาแฟน อย่าพาเพื่อนที่หน้าตาดีไปด้วยเด็ดขาด เพราะผู้คนจะมองว่าคุณหน้าตาดีน้อยกว่าความเป็นจริงไปมากทีเดียว จงออกไปงานเลี้ยงตามลำพัง หรือถ้าจะให้ดีกว่าก็ควรหรีบเพื่อนที่หน้าตารองลงมากจากคุณไปด้วยสักคนสองคน
② อคติจากการครอบครอง (Endowment Effect)
เมื่อคุณได้อะไรมาครอบครองแล้วคุณจะไม่อยากเสียมันไป มนุษย์เราถูกสร้างขึ้นมาให้เก่งเรื่องการเก็บมากกว่าการทิ้ง
เช่น
→ หากคุณซื้อรถมือสองมาในราคา 40000ยูโร วันต่อมามีคนมาขอซื้อต่อด้วยเงินสด 53000 ยูโร คุณมีแนวโน้มที่จะปฏิเสธข้อเสนอนั้นไป เพราะ อคติจากการครอบครอง
คนเรามองสิ่งต่างๆว่ามีค่ามากขึ้นทันทีเมื่อได้อะไรมาครอบครอง และ เวลาจะขายอะไร เราจะตั้งราคาไว้สูงกว่าราคาที่ตัวเองจะจ่าย
สรุปคือ อย่ายึดติดกับสิ่งต่างๆ มองว่าของในครอบครองเป็นเพียงสวรรค์ ที่มอบให้เพียงชั่วคราวและอาจถูกเรียกคืนได้ทุกเมื่อ
③ สมอทางความคิด (The Anchor)
เมื่อไหร่ก็ตามที่เราต้องคาดเดาอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความยาวของแม่น้ำไรน์ ความหนาแน่นของประชากรในรัสเซีย และอื่นๆ เราจะใช้สมอทางความคิดเข้ามาช่วย (การคาดเดาโดยอิงจากข้อมูลที่เราได้รับ เหมือนการเอาสมอไปทอดไว้ที่ข้อมูลนั้น)
เช่น
→ นักจิตวิทยา ชื่อเอมอส ทเวอร์สกี ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับวงล้อเสี่ยงโชค โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองหมุนวงล้อเสี่ยงโชค จากนั้นก็ถามพวกเขาว่าประเทศที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติมีจำนวนเท่าไหร่
และการคาดเดาของพวกเขาก็ยืนยันถึงอิทธิพลของสมอทางความคิด เพราะคนที่คาดเราจำนวนประเทศสมาชิกมากที่สุด คือ คนที่หมุนวงล้อได้ตัวเลข สูงสุด
ได้เลขสูงสุด จึงคาดเดาไปตามข้อมูลอ้างอิงที่ได้รับ(ในที่นี้คือตัวเลข)
→ การที่คุณครูรู้ผลการเรียนเทอมก่อนของนักเรียน คุณครูก็จะยึดติดกับมันและให้คะแนนแบบเอนเอียง
เราสามารถพลเห็นสมอทางความคิดได้ทุกที่ และเราก็ยึดติดกับมันกันทั้งนั้น
④ การโยงเหตุและผลแบบผิดๆ (False Causality)
เป็นการโยงเหตุและผล ผิดบ้าง สลับกันบ้าง
เช่น ชนพื้นเมืองหมู่เกาะเฮบริดีเชื่อว่า เหาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ถ้าเหาทิ้งเจ้าบ้านไป(เหตุ) เขาก็จะไม่สบายและไข้ขึ้น(ผล) วิธีแก้คือ จับเหากลับมาใส่ไว้บนหัว
ความจริงก็คือ เหากระโดดไปเพราะผู้ป่วยมีไข้(เหตุ) เมื่อสร่างไข้จนอุณภูมิบริเวณศีรษะลดลงแล้วพวกมันก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ(ผล)
เหตุการณ์ที่ดูสอดคล้องกัน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นเหตุและผลกันเสมอไป
⑤ การตอบสนองแบบสุดโต่งต่อสิ่งจูงใจ (Incentive Super-Response Tendency)
คนเราจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด
คนเราจะเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างสิ้นเชิงทันทีที่มีการใช้สิ่งจูงใจ
คนเราตอบสนองต่อสิ่งจูงใจ ไม่ใช่เจตนาที่อยู่เบื้องหลังสิ่งจูงใจนั้น
เช่น ในกรุงฮานอยช่วงศตวรรษที่19 เมื่อหนูมีจำนวนมากขึ้นเกินการควบคุม ผู้ปกครองอาณานิคมการฝรั่งเศสจึงออกกฏหมายว่า จะมอบรางวัลสำหรับหนูทุกตัวที่มีคนนำส่งให้
ถึงแม้หนูจำนวนมากจะถูกกำจัด แต่ก็มีผู้คนมากมายเพาะพันธุ์หนูเพื่อนำไปแลกเงินรางวัล
การเซ็นเซอร์เนื้อหาบางส่วนในหนังสือกลับทำให้คนสนใจเนื้อหาเหล่านั้นมากขึ้น
ดังนั้นจับตาดูการตอบสนองแบบสุดโต่งต่อสิ่งจูงใจให้ดี ถ้ารู้สึกข้องใจกับพฤติกรรมขององค์กรหรือใครสักคน ลองถามตัวเองว่าอะไรคือแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมนั้น
⑥ อคติจากความถูกใจ (Liking Bias)
ยิ่งเราชอบใจใครสักคนมากเท่าไหร่เรายิ่งมีแนวโน้มว่าจะช่วยเหลือหรือซื้อของจากเขามากขึ้นเท่านั้น
ผลการวิจัยระบุว่า เราจะมองอีกฝ่ายน่าคบหา ถ้าเขา
1.รูปร่างหน้าตาดี
2.มีภูมิหลัง นิสัย หรือความสนใจคล้ายคลึงกับเรา
3.ชอบเรา
เช่น พนักงานขายจะพยายามเลียนแบบสีหน้า ท่าทาง วิธีพูดของลูกค้า ถ้าลูกเกาหน้าผาก พนักงานก็จะเกาหน้าผากเป็นระยะๆ เป็นต้น
ถ้าคิดจะซื้ออะไร อย่าตัดสินผลิตภัณฑ์โดยยึดติดกับผู้ขาย
⑦ ความกลัวการสูญเสีย (Loss Aversion)
มนุษย์เรากลัวที่จะต้องสูญเสียมากกว่าพอใจที่จะได้รับ
เช่น การเสียเงิน 100 ยูโรจะทำให้ความสุขของเราหายไปมากกว่าความสุขที่จะได้รับจากการได้เงิน 100 ยูโร
ถ้าคุณต้องการโน้มน้าวให้อีกฝ่ายเชื่อในบางสิ่ง จงอย่าบอกว่ามันจะช่วยให้พวกเขาได้ประโยชน์อะไรบ้าง แต่ให้เน้นย้ำว่ามันจะช่วยให้พวกเขาไม่ต้องสูญเสียอะไร
เราไม่สามารถปฏิเสธความจริงที่ว่าเรื่องร้ายๆส่งผลกระทบต่อคนเรามากกว่าเรื่องดีๆ เพราะคนเราอ่อนไหวต่อเรื่องร้ายๆมากกว่า
ความคิดเห็นส่วนตัว
→ ในหนังสือรวบรวมหลายๆบท แยกเป็นแต่ละหัวข้อที่สามารถอ่านแยกกันได้ ดังนั้น ถ้าเราอยากรู้เรื่องไหนเป็นพิเศษก็สามารถอ่านบทนั้นไปได้เลย
→ เรื่องราว เกริ่นนำน่าสนใจ จำได้ง่าย ผมชอบตัวอย่างที่ใช้เปรียบเทียบในชีวิตประจำวัน รวมถึงวิธีแก้ไขที่เข้าใจง่าย
→ แต่ละบทไม่ได้ลงลึกมากขนาดนั้น ถ้าอยากอ่านเพื่อรู้แล้วเอาไปต่อยอดแล้วล่ะก็ ก็ขอแนะนำครับ
สุดท้าย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับ the art of thinking clearly รีวิว 7บทเรียนจิตวิทยามนุษย์ หวังจะเป็นประโยชน์ในการเริ่มต้นศึกษา อคติ ภาพลวงตา ปรากฏการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันของทุกคนนะครับ
สนใจ → the art of thinking clearly (52วิธีคิดให้ได้อย่างเฉียบคม)
บทความแนะนำ